ข้าวสินเหล็กได้จากผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวสีขาวที่มีกลิ่นหอม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี มีความต้านทานต่อโรคไหม้ข้าวสินเหล็กในฐานะเป็นข้าวหอมนุ่มที่มี ดัชนีน้ำตาล ต่ำ-ปานกลาง เมื่อนำมาทดลองบริโภคในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าการบริโภคข้าวกล้องสินเหล็ก ช่วยแก้ปัญหาเบาหวานได้ ทำให้สภาวะดื้อต่อ insulin ลดลงและการทำงานของตับอ่อนดีขึ้น รวมทั้งทำให้ค่าเฉลี่ยของ triglyceride ลดลง นอกจากนี้ข้าวสินเหล็กยังมีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ข้าวพันธุ์นี้ได้ผ่านการประเมินคุณสมบัติความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในมนุษย์ โดยพบว่าการส่งเสริมการบริโภคข้าวสินเหล็กในเด็กนักเรียนที่มีภาวะพร่องธาตุเหล็ก ทำให้ระดับ hemoglobin มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
Source: http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/articles-rice-rsc-rgdu-knowledge/29-2015-03-27-02-04-15/54-sinlek-rice
กระบวนการเรียนรู้ - ปลูกข้าวสินเหล็ก
ถอดบทเรียน VDO
######################################
การเรียนรู้PBL คู่ขนาน ภาคเรียนที่ 1/2558
week 1 : 14-15 พ.ค. 2558
นักเรียนได้เตรียมจอบ เสียม บุงกี่ ฯลฯ อุปกรณ์ขนดินและนำต้นไม้มาปลูก ในแปลงนาสาธิตหน้าบ้าน ม.1
| ||
|
|
|
ทุกคนกุลีกุจอร่วมกันขนดินตลอดช่วงเช้าอย่างสนุกสนาน และปลูกกล้วย ข่า ตะไคร้ ที่ได้รับบริจาคมาจากผู้ปกครอง
จากนั้นนักเรียนได้โจทย์ “ปลูกข้าวสินเหล็ก 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด ในพื้นที่จำกัด”
| |||
นักเรียนทุกคนไปเลือกท่อปลูกของตนเอง และสืบค้นข้อมูลจากการสอบถามผู้รู้(ผู้ปกครอง)
เลือกวิธีปรุงดินของแต่ละคน ในระหว่างที่นักเรียนทำงานดังกล่าว ทุกคนช่วยเหลืองานกันและกันเป็นอย่างดี หลายคนช่วยขนดินให้ครูป้อมกับครูจุลตนท่อของทุกคนเสร็จเพียงเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง
week 2 : 25-29 พ.ค. 2558
_วันจันทร์ครูและนักเรียนทุกคนพูดคุยถึงกระบวนการปลูกข้าว
week 2 : 25-29 พ.ค. 2558
_วันจันทร์ครูและนักเรียนทุกคนพูดคุยถึงกระบวนการปลูกข้าว
นักเรียนได้รับโจทย์จากครูไปสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทำนา
นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการแสวงหาแหล่งที่มาอย่างหลากหลาย เช่น หาข้อมูลในห้องสมุด สอบถามผู้รู้ อ่านจากหนังสือการทำนาที่มีอยู่แล้ว ฯลฯ Flip classroom แล้วครูยังให้โจทย์นักเรียนเตรียมชุดลำลองและหมวก ขวดน้ำมาในวันอังคาร เพื่อเตรียมดูท่อปลูกข้าวว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
_นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับครูและเพื่อนๆ เริ่มตั้งแต่กระบวนการเตรียมแปลงนา ต้นกล้า จนไปถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว บุญคูณลาน
คุณครูชวนนักเรียนคุยการคัดแยกเมล็ดพันธุ์
พี่เพชร_"จากที่ผมหาข้อมูลมา ให้แชร์ข้าวไว้ประมาณ1-2 วัน แล้วนำมาตากแดด เอาไปแช่น้ำอุ่นต่ออีกประมาณครึ่งวันครับ"
เพื่อนๆ _"ข้อมูลพวกเราคล้ายๆพี่เพชรเลยครับ/ค่ะ" เสียงเจือแจ๋วมารอบทั่ววงสนทนา
week 3-4 : แต่ครูให้การบ้านนักเรียนแต่ละคนไปวัดคำนวณหาค่าBMI นักเรียนยังสับสนในการหาค่าดังกล่าว การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือเป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย โดยใช้โปรแกรมวัดค่าความอ้วนข้างต้น
week 3-4 : แต่ครูให้การบ้านนักเรียนแต่ละคนไปวัดคำนวณหาค่าBMI นักเรียนยังสับสนในการหาค่าดังกล่าว การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือเป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย โดยใช้โปรแกรมวัดค่าความอ้วนข้างต้น
นักเรียนช่วยกันคำนวณหาค่าช่วยเพื่อนๆ และร่วมกันออกแบบตารางการรับประทานอาหาร และหาค่าพลังงานจาออาหารแต่ละชนิดและกิจวัตรประจำวันใดในการเผาผลาญพลังงานพร้อมด้วย
ทุกคนจะบันทึกผลตารางการกิน อย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากสัปดาห์นี้
ในวันอังคารช่วยเช้าผู้ปกครองมาร่วมกับนักเรียนช่วยกันทำแปลงนา มีผู้ปกครองประมาณ 7-10 คน ที่มาเข้าร่วมกันในวันนั้น นักเรียนหลายคนเตรียมชุด จอบ เสียม มาเองด้วยหลายคน
*ขอบคุณผู้ครองที่เข้ามาร่วมเรียนรู้กับนักเรียน..
*ขอบคุณผู้ครองที่เข้ามาร่วมเรียนรู้กับนักเรียน..
โดยเขียนออกมาผ่านบทความหรือภาพวาดของการเรียนรู้แต่ละคน
week 5 : _ในสัปดาห์นี้นักเรียนสังเกตเห็นต้นกล้าที่เพาะเติบโตมากแล้ว และเมื่อคืนวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาฝนตกหนักมากๆ นักเรียนและครูจึงร่วมกันวางแผนเตรียมปลูกข้าวในคาบPBL และปลูกต้นกล้วย สาวน้อยปะแป้ง และขิงเหลือง ฯลฯ
นักเรียนชาย-หญิง ทุกคนลงมือช่วยกันขุดคันนา ปรับนาดินและเตรียมกล้าพร้อมยอดและโยนกล้าลงแปลงนา
_ส่วนสัญลักษณ์รุ่นรูปเลข ๑ กับคำ ONENESS ตอนนี้ได้ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่(สีดำอมม่วง)มาจากบ้านพี่มิลล์ ตอนนี้ผสมเข้ากับพันธุ์ข้าวเล็บนกที่เคยนำลงก่อนหน้านี้ผสมเข้ากันเรียบร้อยแล้ว
จากนั้นนักเรียนลงกล้าใน 2 กระด้ง ที่เพาะไว้ผ่านไป 16 วัน ถ้าหากส่วนไหนของแปลนาเป็นดอน(สูงและขาดน้ำไปถึง) นักเรียนจะทำนาหลุมแล้วหยอดต้นกล้าลงไป ส่วนนาดำจะเป็นส่วนที่มีน้ำขัง(ต่ำและน้ำท่วมขัง) ส่วนนาโยนเป็นส่วนที่นักเรียนสามารุดำนาและโยนต้นกล้าลงไปส่วนกลางได้ ทุกคนขะมักเขม้นอยู่ในบริเวณแปลงนาเกือบ 2 ชั่วโมงจนนาดำเสร็จสมบูรณ์
| |||
แล้วนักเรียนได้ไปดูท่อปลูกข้าวของแต่ละคน ข้าว 4 เมล็ด ของนักเรียนเริ่มงอกแล้วกว่า 70% ส่วนของบางท่อขาดน้ำ บางท่อข้าวไม่งอกเลย บางท่อเพาะต้นกล้าไว้สำรองเกิน 4 เมล็ด ฯลฯ
ครูให้นักเรียนถอดบทเรียนจากการทำนาผ่านบทความ “ทำไม? เราจึงได้เรียนรู้การปลูกข้าว/ทำนา” นักเรียนเขียนถ่ายทอดสร้างสรรค์ผ่านบทความและนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
นักเรียนยังทำงาน..
week 6-8 : _เนื่องจากแปลงข้าวหน้าบ้าน ม.1 ข้าวเจริญเติบโตมากแล้ว แต่ในส่วนของบริเวณที่อยู่ใกล้เลข๑ และคำว่า ONENESS น้ำยังท่วมไม่ถึง จึงทำให้นกมากินเมล็ดข้าวเกือบหมด
week 6-8 : _เนื่องจากแปลงข้าวหน้าบ้าน ม.1 ข้าวเจริญเติบโตมากแล้ว แต่ในส่วนของบริเวณที่อยู่ใกล้เลข๑ และคำว่า ONENESS น้ำยังท่วมไม่ถึง จึงทำให้นกมากินเมล็ดข้าวเกือบหมด
ครูกับนักเรียนจึงร่วมกันช่วยโยกย้ายต้นข้าวให้ทั่วบริเวณแปลงนา
_แต่ในระหว่างที่ทำการย้านต้นกล้านั้น เกิดปัญหาในมการเรียนรู้มากมาย เพราะก่อนวันนั้นเย็นวันจันทร์คุณแม่พี่มิลล์นำต้นกล้าของบวบและฟักทองมาบริจาคให้ ม.1
และวันนั้นพี่แต้ม(พนักงานดูแลบริเวณมัธยมฯ) ก็มาทำหน้าที่อยู่บริเวณใกล้แปลงนาพอดี
นักเรียนจึงแบ่งกันออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่ม 1: ย้านต้นกล้า
กลุ่ม 2: ขุดร่องตามขอบแปลงนา
กลุ่ม 3: ปลูกต้นไม้/แซมต้นกล้ารอบๆแปลงนา
นักเรียนช่วยกันทำตลอด 2 ชั่วโมง ทุกคนเหนื่อยล้ามากๆ ครูจึงให้ทุกคนได้พักผ่อนคลายประมาก15-20นาที เพื่อให้หายจากอาการล้า
พวกเราโชคดีมากๆ เย็นวันนั้นฝนตกกระหน่ำทำให้น้ำในแปลงนา น้ำกำลังพอเหมาะในบริเวณ
แต่ปัญหาที่พบคือตันกล้าลอยอยู่บางจุด และต้นข้าวหลายๆต้นหัก ต้องช่วยกันย้ายต้นกล้าอีกครั้ง เราวางระยะห่างไว้ปประมาณ 40-55 เซนติเมตร และส่งคนลงไปย้ายไม่เยอะประมาณ 3-4 คน ช่วยกันย้าย
และเช้าวันนั้นครูใหญ่แนะนำให้หว่านปุ๋ย โดยมีปุ๋ยเหลือเยอะจากที่สมาคมผู้ปกครองหว่านเหลือ และปุ๋ยคอกวัว/ควาย หว่านเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง โดยการหว่านปุ๋ยเป็นไปอย่างสนุกสนานและทุกคนได้ช่วยกันและกันเป็นอย่างดี การหว่านปุ๋ยต้องใช้ศิลปะในการกระจายให้ทั่วถึง
สำรวจและบันทึกผลรายงานความคืบหน้า "ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด" ข้าวของบางท่อเกิน4ต้น ส่วนของบางท่อข้าวขึ้นยังไม่ครบ
ทุกคนก็เลยช่วยกันร่วมพูดคุยถึงการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการโยกย้ายต้นกล้าจากแต่ละท่อ เพื่อนำลงปลูกในท่อของเพื่อนๆแล้วก็สามารถสับเปลี่ยนต้นข้าวทึ่สมบูรณ์กว่าแทนที่กัน จากนั้นนักเรียนนำปุ๋ยที่เหลือจากแปลงนามาลงในท่อของแต่ละคน พรวนดิน เติมน้ำ ฯลฯ
_จากนั้นทุกคนบันทึกผลการเรียนรู้จากการปลูกข้าว พร้อมกับวาดภาพประกอบ ตกแต่งให้ชิ้นงานสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้
_ก่อนนักเรียนจะได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ นักเรียนอีก 2 กลุ่ม ได้นำเสนองานต่อจนเสร็จโดยครูใช้คำถามตรวจสอบความเข้าใจเสมอทุกครั้งที่นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจ และทุกคนเขียนถ่ายทอดบันทึกการกินและร่วมกันพูดคุยทุกครั้ง วัดน้ำหนัก/ส่วนสูงอย่างต่อเนื่อง
_แต่ในระหว่างที่ทำการย้านต้นกล้านั้น เกิดปัญหาในมการเรียนรู้มากมาย เพราะก่อนวันนั้นเย็นวันจันทร์คุณแม่พี่มิลล์นำต้นกล้าของบวบและฟักทองมาบริจาคให้ ม.1
และวันนั้นพี่แต้ม(พนักงานดูแลบริเวณมัธยมฯ) ก็มาทำหน้าที่อยู่บริเวณใกล้แปลงนาพอดี
นักเรียนจึงแบ่งกันออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่ม 1: ย้านต้นกล้า
กลุ่ม 3: ปลูกต้นไม้/แซมต้นกล้ารอบๆแปลงนา
แต่ปัญหาที่พบคือตันกล้าลอยอยู่บางจุด และต้นข้าวหลายๆต้นหัก ต้องช่วยกันย้ายต้นกล้าอีกครั้ง เราวางระยะห่างไว้ปประมาณ 40-55 เซนติเมตร และส่งคนลงไปย้ายไม่เยอะประมาณ 3-4 คน ช่วยกันย้าย
สำรวจและบันทึกผลรายงานความคืบหน้า "ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด" ข้าวของบางท่อเกิน4ต้น ส่วนของบางท่อข้าวขึ้นยังไม่ครบ
_ก่อนนักเรียนจะได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ นักเรียนอีก 2 กลุ่ม ได้นำเสนองานต่อจนเสร็จโดยครูใช้คำถามตรวจสอบความเข้าใจเสมอทุกครั้งที่นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจ และทุกคนเขียนถ่ายทอดบันทึกการกินและร่วมกันพูดคุยทุกครั้ง วัดน้ำหนัก/ส่วนสูงอย่างต่อเนื่อง
การปลูก และเป็นผู้ได้ดูแลพืชพันธุ์ที่ตนปลูกอีก 3 ปี
อากาศวันจันทร์กับอังคารช่วงเช้าอากาศแจ่มใส ท้องฟ้าโปร่ง เป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่ทุกคนช่วยกันปลูกพืช ย้ายต้นกล้า ใส่ปุ๋ยในแปลงนาอีกครั้ง
นักเรียนขะมักเขม้นช่วยกันทำสนามกีฬาเปตอง แบตมินตัน และประตูฟุตซอล โดยนักเรียนแบ่งกันออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อช่วยกันทำหน้าที่ ในส่วนหนึ่งของงานทักษะชีวิต
คุณครูจึงขอสลับคาบpblเป็นชั่วโมงบ่าย_ให้นักเรียนทำทักษะชีวิตในช่วงเช้า
คุณครูจึงขอสลับคาบpblเป็นชั่วโมงบ่าย_ให้นักเรียนทำทักษะชีวิตในช่วงเช้า
เขียน
_ในส่วนของแปลงนาข้าวหน้าบ้าน ม.1 ทุกคนช่วยกันดูและแปลงนาและต้นกล้าที่นำมาปลูกบริเวณโดยรอบอย่างสม่ำเสมอ ทั่งช่วงเช้าที่มาถึงโรงเรียนฯ ผู้ปกครองก็แวะเวียนมาดูและให้กำลังใจเด็กๆตลอดทุกวัน
พี่อังอัง,พี่ซินดี้, พี่นัท, พี่เพลง, และพี่โจเซฟ ช่วยกันโยกย้ายต้นกล้าให้ทั่วบริเวณแปลงนา ข้าวตอนนี้บางจุดยังขาดต้นกล้า บางที่ต้นกล้าหนาแน่นมา ทุกคนพบปัญหาร่วมกันและหาวิธีแนวทางการแก้ไข
ข้าวตอนนี้มีวัชพืชหลายที่ เด็กๆนักเรียนกันถอนวัชพืชและค่อยเฝ้าสังเกตการณ์การเจริญเติบโตและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง และวันพฤหัสฯ นักเรียนได้ไปเอาปุ๋ยคอกที่หลังโรงเรียนฯ มาใส่ในแปลงนาเพิ่มอีก และวัดขนาดความสูงของต้นข้าว โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 38 เซนติเมตร
นักเรียนพบปัญหาคือน้ำในแต่ละท่อเหือดแห้งมาก และข้าวบางท่อเหลืองกรอบตาย แต่ยังมีข้าวของหลายคนที่ปลูกเกิน 4 ต้น จึงไปขอต้นข้าวกับของเพื่อนๆและหลายๆคนได้ใส่ปุ๋ยตามสูตรจำนวนหลายๆคนต้องการ บางท่อมีวัชพืชขึ้นเต็มและต้นข้าวถูกแย่งอาหาร และเนื่องจากดินแห้งหลายๆ คน
หลายๆคนใช้วิธีหาไส้เดือนมาลงในท่อ เพื่อให้พรวนดินและเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าวต่อไป
การเรียนรู้เรื่องข้าวเกิดขึ้นทุกวันในแต่ละสัปดาห์ กระหายที่จะอยากเรียนรู้ความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ทุกคนเจอปัญหาใหม่ๆทุกวัน แต่ทุกคนแชร์ปัญหากันและกันจนเจอทางออก
และทุกครั้งที่สังเกตการเปลี่ยนแปลงของท่อข้าว ทุกคนจะบันทึกผลรายงานครูและเพื่อนๆอย่างต่อเนื่อง
_ในสัปดาห์นี้ฝนเริ่มตกเกือบตลอดสัปดาห์ ในนามีสัตว์น้ำมากมายมีลูกปลาช่อน กบ
ส่วนที่เด็กๆ ก็ได้นำสัตว์น้ำมาปล่อยมี ปลาไหล ปลาช่อน และปลาดุก
เพราะในกิจกรรมผ่าตัดปลาครูให้นักเรียนเตรียมปลามาด้วย มีพี่มายด์กับพี่คอปนำมาเป็นมาด้วย พวกเราก็เลยสงสารปลานำไปปล่อยลงแปลงนา
ช่วงบ่ายของวันศุกร์ปลาไหลกับปลาดุกตาย เนื่องจากปรับตัวกับสภาพน้ำไม่ทันและน้ำร้อนบางจุดเกินไป
เด็กๆและคุณครูยังได้ช่วยกันย้ายข้าวในจุดที่ข้าวห่างกันอีกครั้งในวันพฤหัสบดี และอีกกลุ่มช่วยถอนหญ้าบริเวณโดยรอบแปลงนา ข้าวของพี่ปุณเกิดเพียง 3 ต้น เพื่อนๆ จึงช่วยกันย้ายข้าวและดูแลระบบท่อปลูกช่วยกัน ส่วนในอีกหลายๆ ท่อปลูก ถูกควาย/วัวกินข้าวของเด็กๆประมาณ 7-8 ท่อ
หลายคนสังเกตดห็นความเปลี่ยนแปลงจากข้าวที่ควายกิน
ทุกคนร่วมตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับควาย/วัวกินข้าว "ข้าวที่วัว/ความยกินอาจจะทำให้ข้าวแตกกอมากกว่าปรกติ" หลังจากนั้นเด็กๆร่วมสังเกตุกเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และเปรียบเทียบระหว่างท่อมีน้ำกับท่อดินแห้ง_ท่อข้าวที่เกิดขึ้นอย่างเป็นไปกับท่อข้าวที่ถูกความ/วัวกัดกิน ทุกคนแชร์ปัญหาที่พบก่อนบันทึกความคืบหน้าทุกๆ สัปดาห์
_ต้นสัปดาห์เด็กๆนักเรียนหญิงชายต่างตกใจที่ได้เห็นสายสีขาว มีไข่นวบสีดำเป็นระยะๆ เป็นสายโยงทั่วท้องนานั้น ครูไม่ได้เฉลยว่าคืออะไร?
ทุกคนเรียนรู้อยากหาคำตอบ ก็เลยช่วยกันหาข้อมูลมาสรุปแล้วก็คือ..'ไข่คางคก'
หลายคนตกใจ ไม่กล้าลงแปลงนาเลย ครูจึงเป็นผู้อาสาพานักเรียนลงนาย้านต้นข้าวอีกครั้งและยังเติมน้ำเต็มแปลงนา
แบะนักเรียนและครูร่วมพูดคุยถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการทำนาในสัปดาห์นี้
_pblคู่ขนาน "ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด"
ข้าวของทุกคน 16 ท่อ ข้าวสมบูรณ์มากๆและแตกกอเกินครึ่งแล้ว ส่วนข้าวอีก 3 ท่อ คือ พี่ไอดิน, พี่ปุณ, พี่อังๆ ข้าวยังไม่ขึ้น 4 เมล็ด ก็เลยพากันแก้ปัญหาไปย้ายเอาต้นกลัาที่ขึ้นติดๆกันในแปลงนามาใส่เพิ่มอีกให้ทั่วท่อปลูก และเพื่อนๆช่วยกันเติมน้ำในแต่ละท่อ / วัดขนาดความสูงของต้นข้าว กำจัดวัชพืชบริเวณที่ปลูก / พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ตามความเหมาะสม
มีพี่ปังปอนด์ตัดใบของต้นข้าวออก เพื่อนๆในชั้นต่างสงสัยว่าทำไม?
พี่ปังปอนด์บอกทุกคนว่าเคยเห็นทางบ้านพาทำนา ต้องตัดปลายต้นกล้าออกเพื่อให้ข้าวแตกกอเร็วและไม่ให้สารอาหารไปเลี้ยงที่ใบมากเกินไป
week 9-11 : _แปลงนาข้าวสินเหล็กและท่อปลูปข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด-ในพื้นที่จำกัด
ส่วนที่เด็กๆ ก็ได้นำสัตว์น้ำมาปล่อยมี ปลาไหล ปลาช่อน และปลาดุก
เพราะในกิจกรรมผ่าตัดปลาครูให้นักเรียนเตรียมปลามาด้วย มีพี่มายด์กับพี่คอปนำมาเป็นมาด้วย พวกเราก็เลยสงสารปลานำไปปล่อยลงแปลงนา
| |
| |
|
เด็กๆและคุณครูยังได้ช่วยกันย้ายข้าวในจุดที่ข้าวห่างกันอีกครั้งในวันพฤหัสบดี และอีกกลุ่มช่วยถอนหญ้าบริเวณโดยรอบแปลงนา ข้าวของพี่ปุณเกิดเพียง 3 ต้น เพื่อนๆ จึงช่วยกันย้ายข้าวและดูแลระบบท่อปลูกช่วยกัน ส่วนในอีกหลายๆ ท่อปลูก ถูกควาย/วัวกินข้าวของเด็กๆประมาณ 7-8 ท่อ
หลายคนสังเกตดห็นความเปลี่ยนแปลงจากข้าวที่ควายกิน
ทุกคนร่วมตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับควาย/วัวกินข้าว "ข้าวที่วัว/ความยกินอาจจะทำให้ข้าวแตกกอมากกว่าปรกติ" หลังจากนั้นเด็กๆร่วมสังเกตุกเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และเปรียบเทียบระหว่างท่อมีน้ำกับท่อดินแห้ง_ท่อข้าวที่เกิดขึ้นอย่างเป็นไปกับท่อข้าวที่ถูกความ/วัวกัดกิน ทุกคนแชร์ปัญหาที่พบก่อนบันทึกความคืบหน้าทุกๆ สัปดาห์
ร่วมกันในอีก 1 เดือนข้างหน้า
ส่วนข้าวในสัปดาห์นี้ยังเกิดปัญหาเกี่ยวกับต้นข้าวอาจรากเน่าและเพื่อนช่วยกันตรวจสอบ
และในท่อของพี่ไอดินได้ย้ายต้นข้าวจากแปลงใหญ่มาลงอีกครั้ง
_ในท่อของแปลงใหญ่ทุกคนต่างให้ความร่วมมือที่ดีในการดูแลรักษาแปลงนาทุกๆวัน ด้วยการเดินสำรวจ ดูแลนา ถอนหญ้า เติมน้ำอย่างสม่ำเสมอ
หลายคนสังเกตสิ่งมีชีวิตในนาข้าว และตัดใบทิ้งหลายๆส่วนในท่อปลูก และท่อของนักเรียนหลายคนยังถูกลูกควายมากัดกินอยู่เช่นเคย
การเรียนรู้การทำนาปีนี้ตรงกับสัปดาห์นี้พอดี เป็นการเรียนรู้ที่แยบยลให้ทุกคนได้ลงมือร่วมกันทำแปลงนาใหญ่ของโรงเรียนฯและถอนกล้าก่อนวันดำนา
ในสัปดาห์นี้เป็นมหกรรมเริ่มทำนา
ด้วยบรรยากาศที่กำลังผ่านมาและด้วยอารมณ์ของเด็กๆ ม.1 ที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำนา ครูจึงใช้จังหวะนี้ให้ทุกคนเขียนถ่ายทอดบรรยากาศการทำนา/ ความร่วมมือ/ สัมพันธภาพที่ดีของทุกคนที่ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ครูให้โจทย์นักเรียนเขียน "บรรยากาศการทำนา..และการมีส่วนร่วมช่วยเหลือกัน"
ก่อนเขียนครูให้เด็กๆ ครูพาเด็กๆ ไปเดินสำรวจข้าวในแปลงนาของโรงเรียนฯ และยังมีแปลงข้าวที่ ม.1 ปลูกไว้อีกด้วย เพื่อให้เจอภาพจริงของบรรยากาศ
จากนั้นนักเรียนเขียนงานบันทึก'การทำนา'ลงในสมุดข้าวพร้อมวาดภาพประกอบ นำเสนอความเข้าใจของทุกคน
นักเรียนเปิดน้ำใส่ในแปลงและในนาเริ่มมีปลาเข้ามาอาศัยอยู่ และข้าวที่เป็นตัวอักษร๑ กับคำว่าONENESS นักเรียนตัดใบข้าวออกบางส่วนเพื่อให้ตรงกลางงอกขึ้น
week 12-15 : _ เริ่มจากตรวจดูต้นข้าว และกล้วยบริเวณโดยรอบๆ แปลงข้าว “ท่อปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด”-ในพื้นที่จำกัด
week 12-15 : _ เริ่มจากตรวจดูต้นข้าว และกล้วยบริเวณโดยรอบๆ แปลงข้าว “ท่อปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด”-ในพื้นที่จำกัด
นักเรียนต่างตื่นเต้นกับความงอกงามของต้นข้าว และต้นกล้วยที่เริ่มติดแล้ว ตอนนี้นักเรียนวางแผนการปลูกพืชผักสวนครัวรอบๆ บริเวณปลูกกล้วย 1 ตร.ม. และเริ่มออกแบบทำรั่วลอม
ครูให้โจทย์อีกครั้งให้แต่ละคนหาพืช/ผักสวนครัว เอามาปลูกเพื่อส้มตำให้ได้ 1 ครก โดยหลายๆคนนำต้นพืชมาแบ่งปันกันและกัน
และในบริเวณแปลงนาต้นข้าวหอมนิลขึ้นมาปะปนเล็กน้อย ครูกับนักเรียนจึงช่วยกันถอนออกจากแปลงนาในวันศุกร์แล้วนำต้นข้าวหอมนิลไปปลูกรอบๆ แปลงปลูกกล้วยของแต่ละคน และหาพืชผักรอบๆ มัธยมเข้าไปแซมเพื่อให้พืช/ผักเกื้อหนุนกันและกัน ช่วยให้การเจริญเติบโตโดยเร็วขึ้น
และนักเรียนเขียนบันทึกความคืบหน้าของข้าวในแปลงนาสาธิต
กรณีต่างๆที่เกิดกับปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด และยังมีโครงการวิจัยปลูกต้นกล้วยในพื้นที่จำกัดอีกด้วย
เพื่อให้นักเรียนได้นำมาปลูกรอบๆ บริเวณมัธยม ทุกคนนำสิ่งที่ผู้ปกครองนำมาให้คุณครูและนำมาปลูกร่วมกัน
อาทิเช่น เมล็ดข้าวโพด, แตงโม, เมล่อน ฯลฯ
ผู้ปกครองอยากเรียนรู้เรื่องงานเกษตรไปกับลูกๆ ทำให้การเรียนรู้ของหลายๆ อย่างเป็นไปตามแผนที่ครูวางไว้แต่เริ่มแรกๆ
ครูและนักเรียนนำเมล็ดข้าวโพดไปปลูกรอบๆ แปลงนา และนำไปปลูกหลังท่อข้าว 4 เมล็ด ล้อมรอบบริเวณปลูกต้นกล้วย 1 ตร.ม.
_ส่วนเมล็ดแตงโมกับเมล่อนครูกับนักเรียนเพาะลงในถุงดำกับตะแกรงเพาะเมล็ด ไปวางไว้ข้างทิวสน
นักเรียนยังช่วยดูแลหญ้าบริเวณรอบๆแปลงนา รอบๆ บ้าน ม.1 และนำไปให้ลูกวัวที่เพิ่งออกมา 1 วัน กินทุกๆ ตอนเช้า-เย็น
_ข้าวตอนนี้งามมากและออกรวงเต็มแปลงนา เด็กๆ กับครูชื่นชมความงามผ่านกิจกรรมในเช้าวันแรกของสัปดาห์_สัมผัสรักจากจากแปลงนา 'ข้าวออกรวง' กิจกรรมจิตศึกษาเช้านี้เริ่มด้วย
ครูให้เด็กๆ มายืนรอบแปลงนาและให้อยู่กับแปลงนา/ต้นข้าว มองเห็นข้าวออกรวง - นึกถึงมือน้อยๆ ของแต่ละคนได้ทำแปลงนาแห่งนี้ ตั้งแต่ยังไม่มีอะไรเลย ที่วางเปล่า 1 งาน
เปลี่ยนมาเป็นนาข้าวที่เด็กๆ และผู้มาเยี่ยมเยือนต่างแลเห็น - นึกถึงความร่วมมือของผู้ปกครอง นักเรียน ครู ที่ต่างช่วยกันทำแปลงนาจนถึงวันนี้ /ขอบคุณโอกาสที่มาสร้างการเรียนรู้ให้กับลูกๆ ครับ
- นึกถึงความรู้สึกแวบแรกของความรู้สึกที่เห็นข้าวออกรวง ความงามไสวของปลายข้าวที่ลู่ลม โบกสะบัดพลิ้วไหว เปรียบดังผิวคลื่นตามท้องทะเล *ระยะทางที่ต่างทำร่วมกันด้วยความลำบาก/สนุก/ท้าทาย ทุกคนได้เรียนรู้แลเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการทำนา เช่น การเพาะกล้า นาโยน ข้าวแช่แกบดำในกระด้ง รับขวัญข้าว ฯลฯ
_ผ่านความสงบ อิ่มเอมกับสิ่งที่เกิดกับแปลงนา เช้าวันเราต่างพูดคุยสนทนากันระหว่างครูกับศิษย์ด้วยบรรยากาศอันรื่นรมย์.. /ด้วยไมตีจิต.
จากสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์พี่ไอดินถ่ายทอดผ่านภาษาอังกฤษ บ่งบอกความรู้สึกภายใน
We can almost never imagine that some thing that 34 hands changed a plain little patch into a rice pad that is the most sensible to feel the love that every helping hand that made it come to this day that the rice is almost ready to harvest.It is not an easy path before now there where struggles troubles and fun . Now any one can sense the swirling tips of the rice through the flowing wing in winter's beginning.
*ปัญหาในสัปดาห์นี้เด็กๆ คิดค้นวิธีการป้องกันนกมากินข้าวด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูฝากให้เด็กๆ นำไปคิดค้นวิธี/สอบถามจากผู้รู้ นำมาทดลองลงนาในสัปดาห์หน้า.
week 16-18 : ___เช้าวันเด็กๆ สำรวจแปลงนานาหน้าโรงเรียนนอกกะลา.
_ เริ่มต้นสัปดาห์นี้มาเด็กๆ มากันแต่เช้าของวนจันทร์ทุกคนต่างตื่นเต้นที่เห็นพืช/ผัก ต่างๆ ที่พากันเพาะปลูกไว้รอบบ้าน เช่น แตงโม ข้าวโพด เมล่อน ฯลฯ และยังมีสิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่านั้น คือก่อนหน้านี้ครูสร้างแรงให้เด็กๆ ปลูกแตงโม โดยนำคลิปแตงโมง 4 เหลี่ยมของประเทศญี่ปุ่นให้ทุกคนรับชม และเล่าสิ่งที่เข้าทำแตกต่างจากเมืองไทย เช่น มีstory และจัดรูปลักษณ์ให้น่าสนใจ สร้างมูลค่าเพิ่มเติมจากสิ่งที่มีอยู่ให้น่าสนใจ ฯลฯ
พี่เพชร : “คุณครูผมทำสำเร็จแล้ว กล่องปลูกแตงโม 4 เหลี่ยม” โดยผู้ปกครองพี่เพชรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยเหลือ ชิ้นงานดังกล่าว โจทย์ที่ครูให้ก่อนหน้านั้นให้สร้างให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด (พี่เพชรแจ้งว่า 780 บาท) การเรียนรู้เพียงงานชิ้นนี้สร้างทักษะชีวิตให้พี่เพชร และเพื่อนๆ ที่ต่างรอดูผลที่พลอยได้จากการทดลองนี้
ครูและเด็กๆ นักเรียนทุกคน ม.1 ต่างรอคอยผลที่จะเกิดขึ้นอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กับความสำเร็จดังกล่าว
และอีกอย่างคือข้าวของพี่ๆ ม.1 ตอนนี้แห้งกรอบมากๆ เพราะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาฝนไม่ตกเลย และแดดแรงมากๆ
ข้าวของหลายๆ คนเริ่มออกรวงแล้ว แต่ข้าวขาดน้ำ ดินแห้งมากๆ ครูจึงชวนเด็กๆ พูดคุยถึงปัญหาดังกล่าวว่าเราจะแก้ปัญหานั่นอย่างไร?
หลายคนช่วยกันตักน้ำมาใส่ท่อข้าว และแปลงปลูกกล้วย 1 ตร.ม.
เพื่อให้พืช/ผัก เกื้อหนุนกัน ให้งอกงามตามแปลงปลูกผักดังกล่าว และยังช่วยเหลือกันทำรั่วล้อมรอบๆ แปลงดังกล่าว
และยังใส่ปุ๋ย พรวนดิน ในการ
(ต่อ)หลังจากนั้นเด็กๆ ม.1 ได้ร่วมกันทำรั้วรอบๆ แปลงปลูกกล้วยของเด็กๆ
กิจกรรมดังกล่าวทุกคนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้เติมน้ำและใส่ปุ๋ย ทั้งท่อข้าวและบริเวณปลูกกล้วย ในส่วนของข้าวโพดที่หยอดเมล็ดไว้บริเวณโดยรอบบ้าน ม.1 ตอนนี้ข้าวโพดงอกขึ้นหมดแล้วเด็กๆทุกคนต่างตื่นเต้นและช่วยกันถอนหญ้าและใส่ปุ๋ยรดน้ำ
จากนั้นเด็กๆทุกคนมาร่วมกันพูดคุยถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ (ปัญหา/อุปสรรค-แนวทางการแก้ไข) พร้อมกับเด็กนักเรียนทุกคนเขียนสรุปการเรียนรู้ลงในสมุดบันทึกข้าว พร้อมกับวาดภาพประกอบเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับกิจกรรมในสัปดาห์นี้
เปลี่ยนมาเป็นนาข้าวที่เด็กๆ และผู้มาเยี่ยมเยือนต่างแลเห็น - นึกถึงความร่วมมือของผู้ปกครอง นักเรียน ครู ที่ต่างช่วยกันทำแปลงนาจนถึงวันนี้ /ขอบคุณโอกาสที่มาสร้างการเรียนรู้ให้กับลูกๆ ครับ
- นึกถึงความรู้สึกแวบแรกของความรู้สึกที่เห็นข้าวออกรวง ความงามไสวของปลายข้าวที่ลู่ลม โบกสะบัดพลิ้วไหว เปรียบดังผิวคลื่นตามท้องทะเล *ระยะทางที่ต่างทำร่วมกันด้วยความลำบาก/สนุก/ท้าทาย ทุกคนได้เรียนรู้แลเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการทำนา เช่น การเพาะกล้า นาโยน ข้าวแช่แกบดำในกระด้ง รับขวัญข้าว ฯลฯ
_ผ่านความสงบ อิ่มเอมกับสิ่งที่เกิดกับแปลงนา เช้าวันเราต่างพูดคุยสนทนากันระหว่างครูกับศิษย์ด้วยบรรยากาศอันรื่นรมย์.. /ด้วยไมตีจิต.
จากสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์พี่ไอดินถ่ายทอดผ่านภาษาอังกฤษ บ่งบอกความรู้สึกภายใน
We can almost never imagine that some thing that 34 hands changed a plain little patch into a rice pad that is the most sensible to feel the love that every helping hand that made it come to this day that the rice is almost ready to harvest.It is not an easy path before now there where struggles troubles and fun . Now any one can sense the swirling tips of the rice through the flowing wing in winter's beginning.
week 16-18 : ___เช้าวันเด็กๆ สำรวจแปลงนานาหน้าโรงเรียนนอกกะลา.
..สังเกตเห็นหญ้าขึ้นแซมข้าวหนาแน่นเกินกว่าควรเป็น(พาเด็กถอนบางส่วน)
และดินแห้งแตกระแหง ใบข้าวแห้งกรอบมีสีเหลืองปะปน บางต้นใกล้ตายเนื่องจากฝนตกมาน้อยและแดดแผดเผาเช้า-เที่ยง-เย็น และแปลงนานี้เป็นดินทราย ซึ่งมีคุณสมบัติไม่อุ้มน้ำเช่นดินเหนียว
_*แปลงนานี้โรงเรียนฯ ไม่เคยใช้ปุ๋ยเคมีแม้แต่น้อย ครู นักเรียน และผู้ปกครองช่วยกันทำนากันเองทุกๆ ปี ด้วยความขอบคุณ
กลับมาถึงห้องเรียนครูกับนักเรียน นำสิ่งที่สังเกตเห็นมาร่วมพูดคุย "เห็นอะไร?" /"รู้สึกอย่างไร?"
พี่เพชร : "ดินแห้งมา และบริเวณในนามีหญ้าเยอะมา รู้สึกอยากช่วยถอนหญ้าครับ"
พี่ไอดิน : "เห็นนก มีลมเย็นๆ พัดมาตลอดเวลา รู้สึกเห็นความร่วมมือทำนาตั้งแต่เริ่มแรกค่ะ"
แปลงนาปีนี้
_เนื่องจากเปลี่ยนกลุ่มสมาคมผู้ปกครอง การทำนาจึงเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะกับฤดูกาลและปรับเปลี่ยนให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนไป จึงวางแผนร่วมกับคุณตาที่มีประสบการณ์มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อนลงมือทำ แต่เนื่องจากคนมีจำนวนการทำงานก็เลยต้องขออาสามาทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง(ลำบาก) ในพื้นที่กว่า 50 ไร่
เนื่องจากหลังจากข้าวตั้งท้อง ก็เลยมีนกมากินน้ำนมจากข้าวเยอะมากๆ และครูกับเด็กๆ ร่วมกันคิดค้นหาวิธีป้องกันไม่ให้นกมากิน
บางคนเสนอ "หุ่นไล่กา" / "รอยแผ่นCD" / "รอยเชือกกระป๋อง" ฯลฯ
ทุกคนต่างช่วยกัน และแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่วางแผน สร้างอุปกรณืต่างๆ และเด็กๆ ช่วยกันอย่างขยันขัน
แข็ง และใช้เวลาในเช้าวันอังคารเกือบถึง 11 โมง
ทุกคนต่างเหน็ดเหนื่อยและมุ่งมั่นในการในการทำหน้าที่ และกลับมาห้องเรียนทุกคนเขียนถอดบทเรียนจากการทำหุ่นไล่กาและร้อยเชือกไล่นก บันทึกผลข้าว
เนื่องจากหลังจากข้าวตั้งท้อง ก็เลยมีนกมากินน้ำนมจากข้าวเยอะมากๆ และครูกับเด็กๆ ร่วมกันคิดค้นหาวิธีป้องกันไม่ให้นกมากิน
ทุกคนต่างช่วยกัน และแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่วางแผน สร้างอุปกรณืต่างๆ และเด็กๆ ช่วยกันอย่างขยันขัน
แข็ง และใช้เวลาในเช้าวันอังคารเกือบถึง 11 โมง
| |
_เริ่มต้นในสัปดาห์นี้ เด็กๆยังเห็นนกมากินข้าวทุกๆ เช้า-เที่ยง-เย็น แถมยังมีลูกวัวอัก 2 ตัวที่เข้ามากัดกินข้าวตลอดทั้งวัน เด็กๆและครูจึงร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเปลี่ยนจากรอเก็บเกี่ยวข้าว มาเป็นมาทำข้าวเม่าร่วมกันรับประทาน โดยมีผู้ปกครองที่ทำเป็นมาเป็นผู้ปกครองอาสาเข้ามาร่วมทำกิจกรรมให้กับเด็กๆ ในสัปดาห์นี้
..เช้าวันอังคารทุกคนร่วมกันเกี่ยวข้าวในแปลงนาหน้าบ้าน ม.1 โดยมีผู้ปกครอง แม่พี่อังๆ แม่พี่ปุณ แม่พี่ติ แม่พี่มิลล์ แม่พี่ติ และแม่พี่ซินดี้ อาสามาช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าวร่วมกับครูและเด็กๆ โดยเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ลงเกี่ยวข้าวในแปลงนาด้วยก็ต่างถือกระด้งที่ทำมาเตรียมใส่ข้าว และช่วยกันนำต้นข้าวที่ใช้ไม่ได้ไปให้วัวหรือควายกิน เด็กๆ ต่างสนุกสนานในการทำกิจกรรมและร่วมซึมซับกับบรรยากาศการทำนาตลอดทั้งภาคเรียน
ผู้ปกครองชวนเด็กๆ ทำข้าวเม่า โดยที่คุณแม่พี่อังๆ กับเพื่อนๆ ผู้ปกครองเตรียมอุปกรณ์เพื่อนพาเด็กๆ ทำจนครบ ทำใต้ถุน ม.1 อย่างสนุกสนาน หลายคนไม่รู้กระบวนการทำข้าวเม่า โดยเริ่มทำจากการหมักข้าวเหนียวและนำมานึ่ง ก่อนนำมาตำหรือทุบๆ ใส่ผ้าตาข่ายเขียวใช้ไม้ทุบๆ
และเด็กๆ ได้รับประทานข้าวเม่าจากกะลา ที่เตรียมมาให้แต่คนอย่างเอร็ดอร่อย ขอบคุณความร่วมมือจากผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง
“Last week we made a scarecrow for our rice
(but I don't think it's working like it was supposed to do).In our rice there where many parts gone due the birds we only half of the think we did a too good job. We are going to make a Thai snack called
Kao Mao it is made of rice .We are very we are going to tell more after words. ”
เด็กๆ ร่วมกันเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมดังกล่าวลงในกระดาษA4